สิงคโปร์ นำร่องปรับหลักสูตรการเรียน

สิงคโปร์ นำร่องปรับหลักสูตรการเรียนในระดับมัธยมศึกษาใหม่

กระทรวงศึกษาธิการสิงคโปร์ นำร่องปรับหลักสูตรการเรียนในระดับมัธยมศึกษาใหม่ เลิกใช้ระบบแบ่งสายนักเรียนปกติ-นักเรียนพิเศษภายในปี 2567 และยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนตามความถนัด

เว็บไซต์หนังสือพิมพ์สเตรตส์ ไทมส์ รายงานโดยอ้างคำกล่าวของนายออง ยี คุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของสิงคโปร์ ที่ระบุว่า กระทรวงศึกษาธิการสิงคโปร์ จะปรับหลักสูตรการเรียนระดับมัธยมศึกษาใหม่ โดยเลิกใช้ระบบแบ่งสายนักเรียนปกติ-นักเรียนพิเศษภายในปี 2567 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความสามารถ

ในสำหรับระบบการศึกษาของสิงคโปร์ทุกวันนี้ เมื่อเริ่มเรียนระดับมัธยมศึกษา นักเรียนจะถูกแบ่งเป็นสายปกติ (เทคนิค) สายปกติ (วิชาการ) และสายพิเศษ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการของสิงคโปร์จะยกเลิกระบบนี้กับโรงเรียน25แห่งในปีหน้า และจะค่อย ๆ บังคับใช้กับโรงเรียนมัธยมจนครบทุกแห่งภายในสิ้นปี 2567

สิงคโปร์ นำร่องปรับหลักสูตรการเรียน

ซึ่งจะทำให้นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 รุ่นปี 2567 หรือนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 2 รุ่นปีนี้ สามารถเรียนวิชาต่าง ๆ ตามความสามารถและความถนัดของตัวเองได้ เช่น วิชาคณิตศาสตร์ จะแบ่งการเรียนการสอนเป็น 3 ระดับ คือ G1, G2 และ G3 โดย G1 เทียบเท่ากับสายปกติ (เทคนิค) G2 เทียบเท่ากับสายปกติ (วิชาการ) และ G3 เทียบเท่ากับสายพิเศษ ในปัจจุบันและเมื่อนักเรียนรุ่นดังกล่าวเลื่อนชั้นไปเป็นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 ในปี 2570 นักเรียนทุกคนจะต้องสอบวัดระดับทั่วประเทศ และจะได้ใบรับรองการสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมต้น

แต่อย่างไรก็ตาม กระทรวงศึกษาธิการสิงคโปร์ ยอมรับว่า ระบบการแบ่งสายนักเรียนมีข้อเสีย โดยเฉพาะถ้ามีการแบ่งสายตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะการได้อยู่ในสายนักเรียนที่มีคะแนนที่ถือว่าต่ำกว่าจะถูกตีตราหรือการจำกัดค่าตัวเองว่าเป็นแค่นักเรียนสายปกติ คงทำไม่ได้ดีไปกว่านี้

ซึ่งประเทศสิงคโปร์ใช้ระบบการให้นักเรียนเลือกเรียนแต่ละวิชาตามความสามารถของตัวเอง มานานกว่า 10 ปีแล้วและค่อย ๆ ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยในปี 2557 ได้มีการนำร่องใช้ระบบนี้ใน 12 โรงเรียน และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ bethmessiahfla.com

Releated